ผลการปฏิบัติงานของศูนย์กู้ชีพ"นเรนทร” ประจำปี พ.ศ. 2553

Total casesสถิติการรับแจ้งเหตุ และออกปฏิบัติการ

Total cases
ศูนย์กู้ชีพ"นเรนทร"ออกปฏิบัติการทั้งหมด 1191 ครั้ง ลดลงจากปี 2552 14% มีสาเหตุเนื่องมาจาก
1. เหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในช่วงเดือนเมษายน และพฤษภาคม
2. มีจำนวนรถพยาบาลกู้ชีพระดับสูงในพื้นที่เพิ่มขึ้น จากโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และโรงพยาบาลรามาธิบดี

ช่องทางการรับแจ้งเหตุ

 

Call channels
ปฏิบัติการส่วนใหญ่ ศูนย์กู้ชีพนเรนทร ได้รับการแจ้งเหตุจากศูนย์เอราวัณ กรุงเทพมหานคร จำนวน 901 ราย คิดเป็น 76% ของปฏิบัติการทั้งหมด เป็นสัดส่วนที่ลดลงจากปี 2552 (89%) ในขณะที่สัดส่วนของการรับแจ้งจากประชาชนทางหมายเลขอื่น วิทยุสื่อสารประชาชน (citizen band) เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่กู้ชีพ และอาสาสมัครในพื้นที่ มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น

รายละเอียดช่องทางการรับแจ้ง ปี 2553-2554

 

ช่องทางรับแจ้ง 2553 % 2554 %
เอราวัณ 1250 89.48% 901 75.65%
ประชาชนหมายเลขอื่น 35 2.51% 71 5.96%
วิทยุสื่อสารประชาชน 23 1.65% 44 3.69%
เจ้าหน้าที่ตำรวจ 34 2.43% 52 4.37%
อาสาสมัคร 23 1.65% 58 4.87%
หน่วยกู้ภัย 14 1.00% 23 1.93%
เครือข่ายอื่น 7 0.50% 7 0.59%
วิธีอื่น 6 0.43% 24 2.02%
หน่วยกู้ชีพ 5 0.36% 11 0.92%
รวม 1397 100.00% 1191 100.00%

 

รัศมีการปฏิบัติการ และช่วงเวลาตอบสนอง

ช่วงเวลาตอบสนอง (response time) ในปี 2553 นานขึ้นกว่าปี 2552 จาก 641.88 วินาที เป็น 763.83 วินาที ในขณะที่ระยะทางเฉลี่ยก็เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน จาก 5.9 กิโลเมตร เป็น 6.3 กิโลเมตร ระยะทางมีผลโดยตรงต่อช่วงเวลาตอบสนอง

  2552 2553
เวลาตอบสนองเฉลี่ย (วินาที) 641.88 763.83
ระยะทางเฉลี่ย (กิโลเมตร) 5.9 6.4

 Response time by distance

สถิติเกี่ยวกับผู้รับบริการ

Gender
จำนวนของผู้รับบริการส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (52%) มากกว่าเพศหญิง (35%) แยกตามประเภทเป็นเหตุผู้ป่วย 704 ราย (59%) เหตุบาดเจ็บ 282 ราย (24%)

Age
เมื่อพิจารณาตามอายุของผู้รับบริการแยกตามประเภท พบว่า ในประเภทผู้ป่วย มีอายุเฉลี่ยที่สูงที่สุด (59 ปี) และมีแนวโน้มสูงขึ้นจากปี 2552 ในขณะที่กลุ่มผู้บาดเจ็บ มีอายุเฉลี่ย 38 ปี

ระดับความรุนแรงของผู้ป่วย

Severity
ผู้รับบริการ 912 ราย (76%) มีภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ โดย
458 ราย (38%) เป็นอาการเจ็บป่วยฉุกเฉิน ที่อาจมีภาวะคุกคามถึงชีวิต (emergent) เป็นสัดส่วนเท่ากับผู้เจ็บป่วยที่ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน (urgent) จำนวน 454 ราย (38%)
ส่วนใหญ่ของการปฏิบัติการที่ไม่สามารถระบุระดับความรุนแรงได้เป็นการปฏิบัติการที่ถูกยกเลิก หรือไม่พบเหตุ จำนวน 147 ราย (11%)

สรุปผลการปฏิบัติการศูนย์กู้ชีพ"นเรนทร”ในปี 2553

1. จำนวนการออกปฏิบัติการลดลง เนื่องจากมีหน่วยกู้ชีพขั้นสูงในพื้นที่เพิ่มขึ้น และเหตุการณ์ความไม่สงบในเขตที่ศูนย์กู้ชีพ"นเรนทร” โรงพยาบาลราชวิถี รับผิดชอบอยู่ อย่างไรก็ตาม ควรมีการแก้ไขปัญหาการเข้าถึงผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินอยู่จำนวนหนึ่งที่ยังเดินทางมาโรงพยาบาลด้วยวิธีอื่น ๆ โดยไม่ผ่านระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน
2. การจราจรยังเป็นอุปสรรคหลัก และส่งผลโดยตรงต่อเวลาตอบสนอง
3. ผู้รับบริการส่วนใหญ่ เป็นกลุ่มผู้ป่วย ที่มีอายุเฉลี่ย อยู่ในกลุ่มสูงอายุ และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ จึงควรมีการเตรียมพร้อมเพื่อให้การดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ให้มากขึ้นในอนาคต

Navigation