คลื่นหัวใจพื้นฐานสำหรับเวชกรฉุกเฉิน

คลื่นหัวใจพื้นฐานสำหรับเวชกรฉุกเฉิน

(Basic EKG for EMT)

วัตถุประสงค์

เข้าใจความหมายของคลื่นหัวใจ
สามารถอ่านคลื่นหัวใจที่ปกติได้
สามารถอ่านคลื่นหัวใจผิดปกติที่ต้องรีบรักษาได้

- หัวใจเต้นผิดจังหวะ (เร็วเกินไป, ช้าเกินไป, ไม่สม่ำเสมอ)

- กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

-หัวใจหยุดเต้น

4.เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนการกู้ชีพหัวใจขั้นสูงต่อไป (ACLS : Advanced Cardiac Life Support)

คลื่นหัวใจ (EKG : Electrokardiogram)
คลื่นหัวใจ คือ การอ่านการทำงานของกระแสไฟฟ้าบริเวณหัวใจ โดยจะสามารถบอกถึงหน้าที่และโครงสร้างของหัวใจนั้นๆได้ เปรียบเสมือนการถ่ายภาพหัวใจโดยไม่ต้องผ่าตัดเปิดช่องอก

เครื่องวัดคลื่นหัวใจอาจแบ่งได้เป็น
1. Automated External Defibrillator (AED) ประกอบด้วย 2 ตำแหน่ง การอ่านจะอ่านได้เฉพาะ Lead II
2. EKG 12 ตำแหน่ง (leads) )ณ

- แขนขา 6 ตำแหน่ง (I, II, III, aVR, aVL, aVF)

- หน้าอก 6 ตำแหน่ง (V1-6)

AED (Automated External Defibrillator)

การอ่านคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ต้องรู้

อัตราการเต้น (Rate)
จังหวะ (Rhythm) ปกติต้องมาจากไซนัส ซึ่งจะเห็นคลื่น P
กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือตายแบบเฉียบพลัน (Acute MI)

คลื่นไฟฟ้าหัวใจปกติ

ลักษณะคลื่นหัวใจปกติ

เต้นในอัตรา 60-100 ครั้งต่อนาที (อาจแปรเปลี่ยนได้ตามลักษณะของแต่ละบุคคล โดยทั่วไป 50-120 ครั้ง อาจถือได้ว่าปกติ)
มีลักษณะคลื่น P,Q,R,S,T ที่ปกติตามตำแหน่ง
สม่ำเสมอ ระยะห่างเท่าๆกันตลอด
ตัวแคบผอม

หัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia)

หัวใจเต้นช้าผิดปกติ
หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ

หัวใจเต้นช้าผิดปกติ

หัวใจเต้นช้าผิดปกติ (Bradyarrhythmia)
โดยทั่วไปคือน้อยกว่า 60 ครั้งต่อนาที แต่ในนักกีฬาที่ออกกำลังกายสม่ำเสมออาจมีหัวใจเต้นช้าเป็นปกติได้
อาจเกิดจากการรับประทานยาลดความดันบางชนิด

หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ

หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ (tachyarrhythmia)
โดยทั่วไป คือเต้นเร็วกว่า 100 ครั้งต่อนาที แต่ที่ทำให้เกิดอาการร้ายแรงมักเต้นเร็วกว่า 150 ครั้งต่อนาที
แบ่งกว้างๆจากสาเหตุได้ 2 แบบคือ

1. สาเหตุจากหัวใจห้องบน

2. สาเหตุจากหัวใจห้องล่าง
หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ (Tachyarrhythmia)
สาเหตุจากหัวใจห้องบนลักษณะคลื่น QRS แคบ

หัวใจเต้นเร็วจากไซนัส (Sinus tachycardia)

: สม่ำเสมอ เห็นคลื่น P
2.หัวใจห้องบนเต้นเร็วแบบฟลัตเตอร์ (Atrial flutter)

: สม่ำเสมอ ฟันเลื่อย

หัวใจห้องบนเต้นเร็วแบบสั่นพริ้ว (Atrial fibrillation)

: ภูเขามาไม่สม่ำเสมอ พื้นดินพริ้วไหว
หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ (Tachyarrhythmia)
สาเหตุจากหัวใจห้องล่าง ลักษณะคลื่น QRS กว้าง
: อันตรายกว่าจากห้องบนเนื่องจากกำลังจะกลายเป็นหยุดเต้น แบ่งเป็น

1.หัวใจห้องล่างเต้นเร็ว (Ventricular tachycardia : VT)ตัวอ้วนสม่ำเสมอ

หัวใจห้องล่างเต้นพริ้วไหว (Ventricular fibrillation : VF) ไม่มีภูเขา พื้นดินพริ้วไหว

หัวใจเต้นเร็วจากไซนัส
Sinus tachycardia (rate 150)

หัวใจห้องบนเต้นเร็วแบบฟลัตเตอร์(Atrial flutter)

หัวใจห้องบนเต้นเร็วแบบสั่นพริ้ว(Atrial fibrillation:AF)

เปรียบเทียบ VT(Ventricular Tachycardia) และ VF (Ventricular fibrillation)

หัวใจหยุดเต้น (Asystole)

ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดหรือตายแบบเฉียบพลัน

เป็นภาวะฉุกเฉินอย่างแท้จริง
ควรใช้ทีมกู้ชีพขั้นสูง (advanced life support)
รีบนำส่งโรงพยาบาลที่สามารถทำการรักษาได้( มียาสลายลิ่มเลือด หรือ สามารถฉีดสีและขยายหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจได้ เป็นต้น )
แบ่งออกเป็นชนิด ST ยก และ ชนิด ST ไม่ยก

กล้ามเนื้อหัวใจตายแบบเฉียบพลัน ชนิด ST ไม่ยก (NSTEMI)

บรรณานุกรม
-Amal Mattu and William Brady, ECG for the emergency physician
-Rosen’s Emergency Medicine; Concepts and Clinical Practice

Navigation