Blogs

EP Personality test: บททดสอบสู่ความเป็นแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน

สวัสดีครับผมเป็น EP ครับ อาจจะงงว่า EP คืออะไรเป็นโรค หรือกลุ่มอาการพิเศษอะไรหรือเปล่า ไม่ใช่หรอกครับ EP ย่อจาก Emergency Physician (ภาษาไทยเรียกแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน) เรียนจบเฉพาะทางด้าน Emergency Medicine แม้จะฟังดูคล้าย แพทย์ที่ฝึกฝนด้าน Internal Medicine เฉพาะภาวะที่เร่งด่วน ฉุกเฉิน แต่ถ้าลองมาดูในเนื้องานแล้วขอบข่ายและมุมมองต่างกัน (เราจึงไม่เรียกตัวเองว่า แพทย์อายุรศาสตร์ฉุกเฉิน) แต่อนาคตอาจถูกเรียกเป็นอย่างอื่นก็ได้ หลังจากที่ถูกถามว่าเป็นหมออะไร ตอบไปว่า “แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน” คนฟังยังทำคิ้วขมวด (ผูกโบ)อีก ก็ตอบไปอีกว่า ทำงานห้องฉุกเฉินและนำส่งคนไข้ก่อนถึงโรงพยาบาล ไม่วายถูก

Drugs that commonly miss: ยาดีที่ยังไม่ค่อยมีใครใช้

พูดถึงเรื่องยาที่มีปัญหาบ่อยๆ ก็เห็นจะเป็นเรื่องข้อบ่งชี้ คือ มีข้อบ่งชี้กลับไม่ใช้ (Underuse) แต่ไม่มีข้อบ่งชี้กลับใช้ (Over- use) หรือใช้ผิดข้อบ่งชี้ (Abuse) บางกรณีก็เห็นชัด แต่บางครั้ง ก็คลุมเครือเหมือนที่ชอบเขียนวินิจฉัยว่า +/- หรือ R/O (Rule out) ซึ่งเป็นคำที่ฟังแรก ๆ แล้วจี๊ด (แต่หลัง ๆ ก็ชิน ใช้บ้าง เหมือนศัพท์ สแลงทั่วไป) จริง ๆ ควรเขียนภาวะเหล่านี้ว่า Must to be rule out หากยังไม่สามารถตัดการวินิจฉัยที่สำคัญนั้นออกไปได้ ส่วนความ หมายของ R/O ที่เขียนและเข้าใจกันอยู่จริง ๆ คือ Rule in ในส่วน นี้ ขอพูดเรื่องมีข้อบ่งชี้แต่กลับไม่ใช้แล้วกันครับ จริง ๆ แล้วยากลุ่มนี้ ไม่ถึงขนาดไม่

Don’t do these please!: อย่าทำ...แบบนี้

มีหลายเรื่องที่ถึงแม้ว่าจะเรียนแล้ว ไปอบรมก็แล้วแต่ยังทำ พลาดกันเป็นระยะ ๆ ทั้งการประเมินและรักษา ก่อให้เกิดความ เสี่ยงของการทำงานในห้องฉุกเฉิน จึงขอยกตัวอย่างเรื่องเหล่านี้ มาช่วยเตือนความจำและช่วยบอกต่อกันสักหน่อย

o ใส่ NG tube เพื่อทำ Gastric lavage ในรายที่ได้สารกลุ่ม Hydrocarbon เช่น ยาฆ่าแมลง, น้ำมันก๊าด,​ น้ำมันเบนซิน หรือกลุ่ม Corrosive agent เช่น น้ำยาล้างห้องน้ำ

วันวุ่นวายของชีวิตในห้องฉุกเฉิน (ตอนจบ..เห่)

ฉากที่ 3 องค์ที่ 2 : ห้อง 7 ( resuscitation) ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลห้วยหนองหลึม

ที่มุมหนึ่งของห้อง resuscitation คุณกล้าฤทัย กำลังถูกพยาบาลห้อง 16 เย็บแผลอยู่ (เมาอาละวาด พองาม แล้วก็เงียบไป) ส่วนป้าม้วย ถูกปั๊มด้วยพยาบาล A, บีบ ambu bag โดยพยาบาล 11 (เป็นคนดี มีน้ำใจยังไม่กลับไปกับรถ ในขณะที่ EMT a เตรียมยาให้ IV ,ส่วน EMT b รอเป็นกำลังใจอยู่ข้าง ๆ ) ด้านหน้าห้องก็เป็นน้องหนูนาที่พึ่งผ่านการตรวจทุกอย่างเรียบร้อย เดินถือผล lab และ film x ray มาหาที่ห้อง resuscitation ด้วยสภาพอิดโรย หน้าซีด ปวดท้อง (หมายเหตุ: ในห้อง resuscitation ไม่มีม่านกั้น ทุกคนจึงเห็นกันหมด)

วันวุ่นวายของชีวิตในห้องฉุกเฉิน (ตอนที่ 2)

ฉากที่ 1 องค์ที่ 2 : หน้าห้องฉุกเฉิน เปล/ หน่วยคัดกรองโรงพยาบาลห้วยหนองหลึม

ที่แผนกเวรเปล - เจ้าพนักงานเปล กำลังดู ทีวีเชียร์บอล เหลือบตามองดูแว่บหนึ่งแล้วหันไปเชียร์บอลต่อ ปล่อยให้ EMT เข็นคนไข้เข้าไปเองที่คัดกรอง - มีคนไข้รออยู่ 4 ราย (ผู้หญิงคนที่หนึ่งดูเหมือนปวดฟัน เอามือกุมที่คอและคาง, ถัดไป ผู้ชายเมาเหล้า ถูกฟันมือกุมหัวเลือดชุ่ม, อีกคนผู้สูงอายุชายไอมาก หอบ เหนื่อย และผู้หญิงคนสุดท้ายปวดท้อง ดูหน้าซีด เพลีย)

พยาบาลคัดกรอง : เอามาส่งอีกละ สิทธิ์ที่ไหนคะ ขอดูบัตรค่ะ

วันวุ่นวายของชีวิตในห้องฉุกเฉิน (ตอนที่ 1)

คำบรรยาย : งานนำเสนอนี้ไม่สามารถหา download ได้ตาม internet ทั่วไป เนื่องจากถูกจัดอยู่ในเรต น (บรพ) คือ โปรดใช้วิจารณญาณในการรับชม แนะนำให้ผู้บริหารโรงพยาบาลที่ชมอยู่ภายใต้คำแนะนำ การดูแลอย่างใกล้ชิดจากผู้ปฏิบัติงานทางผู้จัดทำ ไม่อนุญาตให้ท่านผู้หนึ่งผู้ใด คิดลอกเลียนแบบ ส่วนหนึ่งส่วนใดแม้เพียงพฤติกรรมของตัวละคร อันจะเป็นการทำให้เกิดการเสื่อมเสียชื่อเสียงได้ หากพบการละเมิด ทำซ้ำ ปลอมแปลง จะดำเนินการให้ถึงที่สุด ก่อนรับชม กรุณาเปิดเครื่องมือสื่อสารทุกชนิด ปรับไปที่จุดดังสุด ถ้าไม่รู้จะโทรหาใคร ชวนคนข้าง ๆ คุยก็ได้ ไม่ต้องเกรงใจ คุยสิ คุยเลย ถ้าศรียังทนได้ เราก็รอได้ เชิญครับ

Anaphylaxis เรื่องง่าย ๆ ที่หลายคนไม่รู้

ฟังดูเหมือนจะเข้าใจภาวะนี้กันดี แต่จากที่ผ่านมารู้เลยว่ายัง ไม่ถ่องแท้ ไม่เชื่อลองตรวจดูก็ได้ครับ

ภาวะ anaphylaxis เกิดจากการได้รับ สัมผัสสารที่แพ้หรือมี ความไวเกินต่อสารนั้น ๆ แล้วเกิดปฏิกิริยาทางร่างกายอย่างรวด เร็วหรือเฉียบพลันในเวลานาทีถึงชั่วโมง (มักไม่เกิน 2 ชั่วโมง) โดย เกณฑ์การวินิจฉัย มีอาการอย่างน้อย 2 ระบบ ได้แก่

1. อาการทางผิวหนัง : ลมพิษ (Urticaria) และ / หรือ Angioedema

2. อาการทางระบบทางเดินหายใจ : Dyspnea, Wheeze - bronchospasm, stridor, PEF ลดลง, hypoxemia

Adenosine: ยาที่ทำให้หัวใจคนฉีด เต้นแรง!!

Adenosine เป็นยาอีกตัวหนึ่งที่มีความจำเพาะตัวค่อนข้าง สูง ประเภทมาเร็วต้องไล่ไปให้เร็วเพราะครึ่งชีวิตของยา (half life) สั้นมากเหลือเกินในร่างกายคน การฉีดยาตัวนี้จึงต้องเน้นเป็นพิเศษว่าต้องเร็ว เร็วมาก และ ผลที่ได้ก็ทันใจ อยู่ไม่นาน คนไข้หลายคนเล่าว่า รู้สึกเหมือนตก ตึกสูง,​ลงรถไฟเหาะ, เหมือนหล่นลงมาแล้วมีใครปิดไฟ (มันมืด) หวิว ๆ ถ้าดูจากจอ monitor จะเห็นเป็น asystole เป็นช่วงสั้น ๆ ได้เลย จนพยาบาล แพทย์บางคนรู้สึกเสียว ไม่กล้าใช้ แต่อย่างไรก็ตาม ยานี้ก็เป็นยาตัวแรกที่แนะนำให้ใช้ในภาวะ Stable Narrow complex Regular tachycardia เช่น Supraventricular tachycardia (SVT) ด้วยความที่ออ

D: ตัวอักษรที่ทำให้สับสน

มีการพูดถึง ABCD ในหลายเรื่องไม่ว่าจะเป็น Basic life support, Advanced cardiac life support, Trauma, Toxicology ก็เริ่มต้นคล้าย ๆ กันคือ A- Airway, B- Breathing, C- Circulation แต่พอถึงตัว D เริ่มต่างกันไปทำให้บางครั้งเกิด ความสับสนว่า พูดถึงตัว D ที่หมายถึงอะไรกันแน่ ถ้าอย่างนั้นเรา ลองมาทำความรู้จักตัว D ตัวดีของเราว่าคืออะไรบ้าง

CPR: ปัญหาอยู่ที่ใด?

จุดประเด็นเน้นย้ำในการทำ CPR ที่ควรรู้ คือ

1. การเปิดทางเดินหายใจด้วยวิธี Head tilt, Chin lift หรือ Chin lift, Jawthrust maneuver (กรณีสงสัย C spine injury) ร่วมกับใช้ Ambu bag บีบเพื่อ Ventilate ผู้ป่วยได้ ถือว่าขั้น A, B ใน ACLS ผ่านแล้วไม่จำเป็น จะต้องวิ่ง เตรียมอุปกรณ์ใส่ท่อช่วยหายใจและใส่ ET tube ให้ได้เป็น ลำดับแรกจึงจะถือว่าผ่าน A เหมือนอย่างที่ทำ ๆ กัน

Pages

Subscribe to RSS - blogs

Navigation