phaller's blog

Chain of survival: หลักฐานที่ทำให้คนไข้รอดชีวิต

วงแหวนหรือห่วงโซ่รอดชีวิตที่ถูกพูดถึงใน ACLS AHA 2005 ประกอบด้วยกระบวนการ 4 ขั้นตอน ที่จะช่วยผู้ป่วย Cardiac arrest รอดฟื้นคืนชีพจากการทำ CPR มีดังนี้

1. Early access เมื่อพบผู้ป่วย ให้ทำการประเมินแล้วติดต่อ ขอความช่วยเหลือ เพื่อรออุปกรณ์ช่วยกู้ชีพขั้นสูงต่อไป (รอขั้นตอนที่ 4) ซึ่งในเมืองไทยคือ ติดต่อหมายเลข 1669 เรียกรถพยาบาลในระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน

2. Early CPR ช่วยเหลือโดยการทำ Basic life support อย่างถูกวิธี เน้นที่เริ่มทำ CPR ในช่วง 4 นาทีแรก

Burn: Tips and Tricks

มีเรื่องที่น่าสนใจเยอะเกี่ยวกับ Burn เช่น

· 1% burn ที่ประเมินโดยใช้ฝ่ามือของผู้บาดเจ็บ คิดจากพื้นที่ ฝ่ามือโดยไม่รวมนิ้วมือ

· 1% burn ตามกฎ rule of nine เทียบเท่ากับบริเวณ perineum

บางคนท้วงว่าถ้าบริเวณ perineum คนไข้ใหญ่กว่า ฝ่ามือ จะคิดมากกว่า 1% ได้ไหม ก็ตอบว่า ใช้กันคนละสูตร แต่ น่าจะอนุโลมว่าประมาณ 1% ตาม rule of nine ดีแล้ว ไม่อย่าง นั้นเดี๋ยวเจอปัญหาเล็กกว่าก็ต้องเก็บมาถามอีก อย่าไปคิดลึกให้ วุ่นวายครับ

Bite & Infection: ถูกกัดกับติดเชื้อ

เรื่องของการถูกกัด ไม่ว่าเป็นสัตว์เลื้อยคลานอย่าง งู (หลาย ชนิดบวมเฉพาะที่มาก),​ ตะขาบ(ปวดบวมแดงร้อนได้มาก) หรือ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอย่าง สุนัข, แมว,​ หนู,​ ลิง กระทั่งคน (ไม่นับที่พูดเหน็บ กัดแล้วเจ็บใจ) ก็เสี่ยง ติดเชื้อด้วยกันทั้งนั้น ซึ่งเชื้อโรคตัวเด่นที่เป็นสาเหตุก็ต่างกัน เช่น

· สุนัข แมวกัด เชื้อเด่นเป็น Pasteurella Multocida มักเกิดติดเชื้อลามเร็วในช่วง 1-2 วัน ถ้านานกว่านั้นที่ 3-4 วันเป็น Staphyloccus Aureus, Streptococcus species ที่ทำให้แผลบวมแดงอักเสบ โดยพบว่าแมวกัดทำให้ติดเชื้อ ได้มากกว่าเนื่องจากแผลเล็กและลึก ล้างทำความสะอาดได้ ยากกว่า

Basic life support: บทสรุป

หัวใจของการทำ Advance cardiac life support คือการทำ Basic life support (BLS) ให้ดี ถ้าเราลองสรุปหลักง่าย ๆ (เคล็ด วิชา) ของ BLS คือ “ประเมินก่อนปฏิบัติเรียงเป็นลำดับ” ดังนี้

ประเมิน ผล ปฏิบัติ

ความรู้สึกตัว ไม่รู้สึกตัว เรียกขอความช่วยเหลือ

ทางเดินหายใจ การอุดกั้น เปิดทางเดินหายใจ

การหายใจ ไม่หายใจ ช่วยการหายใจ

คลำชีพจรที่ต้นคอ ไม่ได้ชีพจร กดหน้าอก

แต่ละขั้นตอนมีรายละเอียดดังนี้

Flumazenil: A drug that make me wonder

หนึ่งในยาที่กลายเป็นตำนาน “ไม่ควรให้ในห้องฉุกเฉิน” (ทั้งที่ หลายที่ก็ยังมียาตัวนี้อยู่)

MUD PILES / A MUD PILE ตัวย่อช่วยจำในภาวะ Wide anion gap metabolic acidosis

ตรวจ Electrolyte พบว่ามี Wide anion gap metabolic acidosis หาสาเหตุการเกิดตาม MUD PILES หรือบางเล่ม ใช้ A MUD PILE ขึ้นกับว่าจะใช้ Aspirin หรือ Salicylate poisoning

M - Methanol

U - Uremia

D - Diabetic ketoacidosis

P - Phenformin, Paraldehyde

I - Isoniazid, Iron

L - Lactic acidosis ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ต้องลงหาสาเหตุกันอีกที

E - Ethylene glycol, Ethanol

S - Salicylate

Activated charcoal: พระเอกมาแล้ว

พระเอกขี่ม้าขาวมาช่วยแล้ว !! (ตรงตามสเป๊กใครหลายคน ที่ชอบ ดำ เข้ม) เพราะในการดูแลผู้ที่ได้รับสารพิษ การให้ Activated charcoal เพื่อล้างพิษผ่านทางเดินอาหารหรือทำ Gastrointestinal decontamination มีข้อสังเกต ดังนี้ 1.

การสังเกตสีช่วยอะไรได้เยอะครับ

ศูนย์รับแจ้งเหตุ แจ้งว่าพลเมืองดีพบพระหมดสติ มีอาการเกร็งกระตุก เลือดออกจากปาก ชาวบ้านนั่งประคองกันอยู่ในร้านค้า จึงส่ง EMS advance team ไปรับและนำส่งโรงพยาบาล พบว่าไม่ตอบสนองต่อเสียงเรียก, ไม่ลืมตา, ยังหายใจได้เอง มีเลือดที่มุมปากเล็กน้อย HR 64/min, BP 140/90 mmHg ค้นในย่ามพบยาเม็ดกลม สีเหลือง จำนวน 20 เม็ด จึงนำส่งโรงพยาบาล

update ความรู้ทาง toxico กันอีก

ในส่วนของ prehospital care แนะนำให้ดูแลผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษดังนี้ ครับ
- หลักการดูแลแบ่งออกเป็น 6 step ดังนี้ครับ
1. การช่วยเหลือชีวิตเบื้องต้น (Basic life support) เน้นเรื่องของ A , B และ C
2. การประเมินผู้ป่วย รวมทั้งการซักประวัติ , การตรวจร่างกาย โดยเฉพาะ ส่วนของ vital sign , อาการและอาการแสดงที่เข้ากับสารพิษกลุ่มต่าง ๆ (หรือที่เรียกว่า Toxidrome) ครับ

Toxico management

ทราบหรือไม่ ว่าการ management ทาง toxico ที่ทำ ๆ กันอยู่ ยังไม่มีรายงานหรือการศึกษาสนับสนุน ซะส่วนมาก (ส่วนมากจะ controversy หรือพิสูจน์แล้วก็ยังไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ) ตัวอย่างเช่น

Pages

Subscribe to RSS - phaller's blog

Navigation